เราจะใช้ “จิตวิทยา” ทำเว็บไซต์ให้ “น่าเชื่อถือ” สยบลูกค้าได้อย่างไร?

เราจะใช้ “จิตวิทยา” ทำเว็บไซต์ให้ “น่าเชื่อถือ” สยบลูกค้าได้อย่างไร?


“ใครๆ เขาก็ทำกันทั้งนั้นแหละ” คำพูดติดปากเวลาเราจะทำอะไรตามๆ คนอื่นมาจากไหนกัน?

เรื่องนี้มีวิทยาศาสตร์อธิบายได้ซึ่งนักจิตวิทยาเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า พฤติกรรมรวมกลุ่ม (Conformity หรือ Bandwagon effect)




จากการทดลองนี้ การทำตามๆ คนอื่นจะทำให้เรารู้สึกสบายใจขึ้น ไม่ถูกทิ้งหรือถูกแยกออกจากกลุ่ม


นักการตลาดเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ว่า เครื่องพิสูจน์จากสังคม (Social Proof)




ซี่งเป้าหมายของเครื่องพิสูจน์ที่ว่ามีอยู่อย่างเดียวคือ “ทำให้ผู้คนพูดถึงมากขึ้น” โดยอวดหลักฐานที่แบรนด์ของเราเป็นที่ยอมรับจากคนอื่นไม่ว่าจะเป็นคนที่เข้าดูเว็บไซต์ ผู้ที่มีอิทธิพลในโลกออนไลน์ ผู้ติดตามแพลตฟอร์มของแบรนด์ของเรา และที่สำคัญคือลูกค้าที่ซื้อและใช้งานสินค้าใช้บริการของเราจริงๆ

ช่วยให้คนที่เข้ามาดูเว็บไซต์และกิจการตัดสินคุณค่าแบรนด์ของเราได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

และนี่คือ 7 เทคนิคง่ายๆ แต่ปราบเซียนให้คนแนะนำเว็บไซต์ของเราต่อๆ กันไปไม่สิ้นสุด!


1. เขียนรีวิวและคำแนะนำจากผู้ใช้งานจริง

ถ้าคุณพูดถึงสินค้าของเราเอง นั่นเรียกว่า “การตลาด” แต่ถ้าลูกค้าพูดถึงสินค้าของเรา นั่นเรียกว่า “เครื่องพิสูจน์”

และนี่เป็นสาเหตุทำให้รีวิวและคำแนะนำจากผู้ใช้งานจริงเป็นกลยุทธ์ทรงพลังสุดๆ คำพูดที่มาจากบุคคลที่สามย่อม “น่าเชื่อถือ” และบรรลุเป้าหมายในการตลาดได้เข้าเป้ากว่า เพราะเป็นคำพูดที่ออกมาจากความรู้สึกจริงๆ ไม่ได้ออกมาจากหัวคิดของนักการตลาด

ฉะนั้นถ้ายกคำแนะนำของลูกค้าที่ใช้งานสินค้าและบริการของเราไว้บนทุกๆ เพจของเว็บไซด์แล้วล่ะก็ รับรองว่าแบรนด์ของเราจะน่าชื่อถือขึ้นอีกเยอะ!

และอย่าทำเพจสำหรับรีวิวและคำแนะนำของลูกค้าแยกต่างหากนะ ไม่มีใครเขาอยากกดเข้าไปเพื่ออ่านจริงๆ มากนักหรอก




เว็บไซต์นี้เกี่ยวกับบริการท่องเที่ยว ขอให้วางคำแนะนำจากผู้ใช้สินค้าจริงไว้ให้ถูกที่แบบนี้ สร้างความน่าเชื่อถือเว็บไซต์และแบรนด์ได้อีกเยอะ


2. ให้ผู้มีอิทธิพลในโลกออนไลน์ออกโรงรับรองแบรนด์ของเรา

ให้ผู้เชี่ยวชาญและเหล่าดาราเซเลปทั้งหลายทั้งโลกออฟไลน์และออนไลน์ออกมาโปรโมทรับรองแบรนด์ของเราไปเลย ยิ่งเราเลือกดาราได้เข้ากับสินค้าและบริการของเราได้มากเท่าไร่ แบรนด์ของเรายิ่งน่าเชื่อถือ มีคนไว้ใจมากขึ้นเท่านั้น

ฉะนั้นถ้าธุรกิจของเราเคยได้รับคำชมจากคนดังที่มีเหล่าแฟนคลับของเราชอบ ไปหามาว่าเขาพูดอะไร ลอกมันมาแปะในเว็บไซด์ด้วย ถ้าจะให้ปัง ใส่รูปของคนที่พูดเข้าไปด้วย จะเพิ่มความเน่าเชื่อถือของคำพูดได้อีกเท่าตัว




เว็บไซต์นี้ขายหนังสือ Social Media Tool Guide มีคนดังในวงการ Social Media มาให้คำนิยมพร้อมภาพแบบนี้ ช่วยได้เยอะ


3. อวดตัวเลขยอดผู้ติดตามในอีเมลลิสต์หน่อย

เชื่อว่าใครทำธุรกิจหลายๆ คนก็อยากให้คนลงทะเบียนในเว็บไซต์เยอะๆ ฉะนั้นก็ต้องสร้างความน่าเชื่อถือรอบๆ ฟอร์มลงทะเบียนไว้ก่อนจริงมั้ย? บอกไปเลยว่าเราจะส่งเนื้อหาอะไรไปให้ทางอีเมล์ ส่งบ่อยแค่ไหน

และที่สำคัญคือ Social Proof ขาดไม่ได้แน่ๆ ถ้ามีคนลงทะเบียนกับเราเยอะ โชว์ตัวเลขไปเลยว่ามีกี่คนแล้วที่มาลงทะเบียนบนเว็บไซต์ของเรา หรือถ้าไม่ได้มีเยอะขนาดนั้น ก็ใช้เทคนิคแรก คือคำแนะนำจากผู้ที่ลงทะเบียนบางคนว่าได้ประโยช์อะไรบ้างจากเนื้อหาที่ได้รับในอีเมลทุกครั้ง ใส่รอบๆ ฟอร์มลงทะเบียน




เวิร์คสุดๆ หลังจาก Orbit Blog ปรับฟอร์มลงทะเบียนใหม่น่าเชื่อถือขึ้น ก็มีอัตราคนมาลงทะเบียนรับข่าวสารเพิ่มถึง 1,400%


หรือการโชว์จำนวนที่ถูกทวิต ไลค์ และแชร์สำหรับทุกๆ โพสต์ ก็สะท้อนให้เห็นว่าเนื้อหาโพสต์ของเรานั้นมีคนชอบมากน้อยแค่ไหน




แต่ถ้าจำนวนไม่เยอะพอแบบนี้ อย่าโชว์เลยดีกว่า!


5. ใส่ปุ่มไลค์ คอมเม้นท์ แชร์สำหรับ Twitter และ Facebook เข้าไปด้วย

ซึ่งวิตเจ็ทของ Twitter และ Facebook มีอยู่แค่ 3 อย่าง
- ขนาดของคนที่ติดตาม
- รูปโปรไฟล์ของคนที่ติดตาม
- โพสต์ที่เกี่ยวข้องและผู้ติดตามล่าสุด

ฉะนั้นถ้ามีคนเข้ามาดูเว็บไซต์ แล้วเห็นรูปของเพื่อนหรือคนที่เขารู้จักติดตามเว็บไซต์ของเราอยู่แล้ว ก็ยิ่งทำให้คนที่เข้ามาดูนั้นกดติดตามเว็บไซต์ของเราด้วย ไม่งั้นได้ถูกทิ้งท้ายแน่ๆ!

แต่ถ้าเรามี Facebook หรือ Twitter ที่ไม่ได้อัพเดท ถูกปล่อยร้าง ก็อย่างเอามาติดเป็นวิทเจ็ตบนเว็บไซต์เลย นอกจากจะไม่มีใครอยากกดติดตามแล้ว ยังทำลายความน่าเชื่อถือแบรนด์ของเราด้วย




Moz Blog ใช้วิทเจ็ทโชว์ให้คนเยี่ยมบล็อกว่ามีฐานแฟนแน่นขนาดไหน!


6. “ตามที่เห็นในสื่อต่างๆ เช่น...” ติดโลโก้สื่อให้โลกรู้!

ถ้าแบรนด์ของเราเคยออกสื่อ หรือเคยถูกพาดพิง เราก็มีโอกาสที่จะเพิ่มความน่าเชื่อถือและเพื่อจำนวนคนเข้าชมเว็บไซต์แล้ว ติดโลโกสื่อที่เคยพูดถึงแบรนด์ของเราบนหน้าโฮมเพจเลย




ซึ่งวิธีนี้ได้ผลสำหรับกิจการที่ประชาสัมพันธ์อยู่แล้ว แต่ใช่ว่าพวกบล็อกเกอร์รับเชิญจะไม่มีโอกาสนี้ ถ้าเราเคยถูกเชิญให้เขียนโพสต์ลงในเว็บไซด์ดังๆ ขอแนะนำให้เอาโลโก้ของเว็บไซต์นั้นแปะลงบนเว็บไซต์ของเราด้วย


7. มีโซนโลโก้ที่แสดงรางวัลความน่าเชื่อถือบนเว็บไซต์ด้วย

ถึงจะเป็นโซนเล็กๆ บนโฮมเพจก็เถอะ ก็ของให้มีไว้ ถ้ากิจการของเราเป็นสมาชิก ได้รับรางวัลหรือเรตติ้งขององค์กรไหนที่น่าเชื่อถือและเกี่ยวข้องกับลุกค้า อย่าลืมเอามาใส่ในโซนนี้ด้วย




อย่างเว็บไซต์นี้จัดโชนแสดงโลโก้รางวัลและสถานภาพสมาชิกขององค์กรที่เคยเข้าร่วมไว้ใต้เว็บไซต์ แถมมีคำแนะนำจากอุตสาหกรรมเกี่ยวกับเว็บไซต์นี้ ความน่าเชื่อถือกินขาด


สุดท้ายถ้าอยากให้ความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์เพิ่มขึ้นเรื่อง ก็ควรทำสิ่งที่กำลังจะบอกต่อไปนี้
- ทำโฟลเดอร์เก็บอีเมลคำชมจากลูกค้า สื่อ ผู้มีอิทธิพล และจากที่ต่างๆ ที่เห็น
- ถ่ายรูปหน้าจอโพสต์ที่มีคำชมต่อเว็บไซต์ของเรา
- ถ้ามีกระดาษโน้ตคำชมที่ส่งมาให้เรา ก็ควรจะมีซองจดหมายเก็บไว้

อัพโหลดคำชมบางส่วนไม่ซ้ำกันลงบนเพจ และอย่าลืมทำเพจขอบคุณให้น่าเชื่อถือขึ้นด้วย







Credit : marketingoops.com

 1625
ผู้เข้าชม

myAccount Cloud Accounting โปรแกรมบัญชีออนไลน์สำหรับ SMEs โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่ทำให้การทำบัญชีของคุณ เป็นไปอย่างง่ายดาย สะดวก รวดเร็ว

บทความล่าสุด

รู้หรือไม่ว่า ในช่วงแรกเริ่มของ Alibaba แจ๊ค หม่า ไม่จ้างคนเก่งมาร่วมทีม แต่กลับเลือกคนที่อยู่ลำดับรองมาร่วมงานด้วย
17304 ผู้เข้าชม
หลังเรียนจบปริญญาตรีและเข้าทำงานที่อิออน ห้างค้าปลีกใหญ่สุดของญี่ปุ่น กระทั่งต้นทศวรรษ 1970 ทาดาชิ ยานาอิ ซึ่งอยู่ในวัย 20 กว่าปีก็ตัดสินใจลาออกเพื่อกลับไปสานต่อธุรกิจ...
13175 ผู้เข้าชม
ผมมักจะเขียนถึงเรื่องการขายที่เชื่อมโยงกับกีฬาฟุตบอลอยู่เสมอ นั่นเป็นเพราะกีฬาชนิดนี้ มีความคล้ายคลึงกับระบบการทำงานในองค์กรอย่างน่าประหลาด
7706 ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์