Laszlo Bock หนึ่งในผู้บริหาร Google เคล็ดลับบางส่วนว่าการเฟ้นหาผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนแต่ไร้ใบปริญญาไว้กับหนังสือพิมพ์ New York Times
1. คนที่ไม่มีใบปริญญาเอาตัวรอดเก่งกว่า : Bock กล่าวว่า มองดูผู้คนที่ไม่ได้เรียนหนังสือแต่เอาตัวรอดได้ในโลกยุคปัจจุบัน คุณจะพบว่าคนเหล่านี้ต่างหากที่มากด้วยความสามารถและเป็นที่ต้องการ บริษัทไม่น้อยมีเงื่อนไขคือต้องมีเกรดมายื่นด้วย แต่สำหรับGoogle คำว่ามหาวิทยาลัยไม่ถือเป็นเงื่อนไขรับคนเข้าทำงานเลยด้วยซ้ำ ใครหลายคนหันมาเรียนแบบกำหนดเวลาเรียนได้ไม่ก็สายอาชีพหวังเพิ่มพูนทักษะที่จำเป็นก่อนสมัครเข้าทำงาน
2. เน้นทักษะมากทฤษฎี : Bock กล่าวว่า “ระหว่างผู้สมัครเข้าทำงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลหรือเจ้าหน้าที่การเงินสองคน หนึ่งมีความสามารถด้านกระบวนการคิดสูง ใฝ่เรียนรู้ ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และมีทักษะความเป็นผู้นำที่โดดเด่นทั้งๆ ที่ไม่รู้ทฤษฎี เทียบกับอีกคนที่แม่นหลักการ ผมจะจ้างคนแรก เพราะวิธีตามหนังสือของคนหลังน่ะใครๆ ก็ทำได้” เกรดเฉลี่ย ตามคำจำกัดความเลยก็คือเครื่องรับรองความเชี่ยวชาญ ปริญญาด้านวารสารศาสตร์ก็ไม่ต่างอะไรจากเข็มกลัดอันใหญ่กลัดไว้เพื่อบอกโลกทั้งใบว่าคุณพอรู้หลักการการบรรยายและสัมภาษณ์คนอยู่บ้าง แต่ปริญญาไม่ได้รับประกันว่าผู้สำเร็จการศึกษาทำอะไรได้บ้าง นำเสนอแนวคิดต่อหน้าฝูงชนได้หรือเปล่า สร้างเว็บไซต์เป็นหรือไม่ ไม่ก็วิเคราะห์ปัญหาได้จริงหรือเปล่า หรือแค่สอบผ่านไปวันๆ
3. ชอบคนที่คิดเป็นระบบ : Bock ระบุว่า “โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ได้ชื่อว่ามีความคิดสร้างสรรค์ ไม่ใช่โดยอาศัยตรรกะตามธรรมชาติแต่เป็นการคิดอย่างเป็นระบบ เหล่านี้คือทักษะที่คุณต้องฝึกฝน ผมทำสถิติที่คณะบริหารธุรกิจซึ่งเปลี่ยนแนวทางการทำงานผมไปสิ้นเชิง การคิดแบบวิเคราะห์ทำให้คุณมีทักษะที่สร้างความโดดเด่นเหนือคู่แข่งในตลาดแรงงาน”การคิดแบบมีเหตุผลไม่ใช่แค่การตั้งโปรแกรม เช่นย้อนไปเมื่อปี 2010 Facebookตั้งกระทู้ในบล็อคไว้ว่าผู้สมัครตำแหน่งทางการเมืองซึ่งมีคนติดตามเพจมากกว่ามีสิทธิ์ชนะการเลือกตั้ง หรือก็คือยิ่งมีผู้ติดตามเฟสบุ๊คตน-มากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีโอกาสชนะมากเท่านั้น ฟังดูไม่สมเหตุสมผลเท่าไหร่นัก เพราะผู้สมัครคนนั้นอาจมีชื่อเสียงมาก่อนหน้าลงสมัครแล้ว และในบางกรณีผู้สมัครที่มีคนติดตามน้อยกว่ากลับชนะการเลือกตั้ง แต่เหตุใดจำนวนผู้ติดตามจึงไม่มีผล ผู้ใช้งานFacebookอาจเข้าใจตรรกะพื้นฐานก็จริง แต่ไม่ถนัดคิดวิเคราะห์ ผู้ที่จะศึกษาข้อมูลอย่างจริงจังจำต้องมีทักษะและกลยุทธ์เพื่อให้เข้าใจหลักการสำคัญ
4. ต้องการคนขยันและทุ่มเท : Eric Schmidt อดีตประธาน Google (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเดียวกันที่ Aphabet บริษัทแม่ที่ตั้งขึ้นใหม่เพื่อดูแลกิจการในเครือ Google ทั้งหมด) กล่าวว่า ดูเหมือนคุณสมบัติสำคัญที่แยกผู้เรียนมากความสามารถออกจากกลุ่มที่ประสบความสำเร็จไม่ใช่ความรู้แต่เป็นความมุมานะในการทำงานใครหลายคนอาจมองว่าจบมหาวิทยาลัยน่ะเรื่องกล้วยๆ พวกเขานั่งเล่นเกมเบียร์ปองได้เป็นสิบๆ รอบถึงตีสี่และรับมือข้อสอบเคมีวันรุ่งขึ้นได้สบายๆ ขณะที่ Room Mateผู้ขลุกตัวอยู่ในกองหนังสือที่ห้องทำได้เพียงเกรดบี เกรดมหาวิทยาลัยบอกกูเกิ้ลไม่ได้ว่าผู้สมัครมีพรสวรรค์หรือพรแสวงกันแน่ แต่ดูเหมือนบริษัทต้องการร่วมมือกับคนทุ่มเทมากกว่าพวกหัวดีแต่เกียจคร้านนะ
5. ต้องการผู้ที่มีทักษะตรงกับสายงาน : Bock กล่าวว่า “ผมไม่ได้บอกว่าอย่าเรียนมหาวิทยาลัยเลย แค่ว่าหลายคนไม่คิดให้รอบคอบดีก่อนว่าเรียนไปทำไมและเรียนแล้วได้อะไร” ทั้ง Bock และ Schmidt ไม่ปฏิเสธว่าเราควรเข้าเรียนมหาวิทยาลัย แค่ว่าทักษะและประสบการณ์ต่างหากที่สำคัญกว่าใบรับรองคุณวุฒิการศึกษา Bock กล่าวว่า Google สนใจดูผลงานและความสำเร็จของผู้สมัครตั้งแต่เริ่มฝึกงานมากกว่า เขาเสริมด้วยว่า ตนจำไม่ได้ว่าครั้งสุดท้ายที่คนถามเรื่องวิชาเอกน่ะเมื่อไหร่ แต่ถ้าคุณอยากได้งานที่ Google (หรือบริษัทชั้นนำอื่นๆ แล้วล่ะก็) อย่าได้สนใจเรื่องเกรดอะไรนักเลย ให้ความสำคัญกับว่าคุณจบการศึกษาพร้อมทักษะและประสบการณ์ทั้งหมดที่ต้องใช้สร้างสิ่งดีๆ แก่โลกจะดีกว่า
Credit : marketeer.co.th