Case Study : K Mart (ตอนที่1)

Case Study : K Mart (ตอนที่1)

 

 

 

หลายคนคงเคยได้ยิน ประโยคยอดฮิตที่ว่า "ถูกและดีไม่มีในโลก"

 

ประเด็นในวันนี้ไม่ได้จะให้มาถกกันว่ามันมีอยู่จริงหรือไม่ หรอกครับ แต่แน่นอนว่า concept นี้เป็น ideal product/service ที่หากว่าผู้บริโภคคนใดก็ตาม มีความรู้สึกแบบนี้ต่อแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง ก็ถือได้ว่าเป็น sustainable competitive advantage ของธุรกิจนั้นได้เลย

 

ปัญหาคือ มันได้มายากเหลือเกินน่ะสิครับ

 

K Mart เป็น Discount department store ที่ใหญ่ที่สุดในออสเตรเลีย ด้วยจำนวน 180 สาขาทั่วประเทศ

K Mart ทำธุรกิจนี้มากว่า 40ปี และแน่นอนเส้นทางไม่ได้ราบเรียบ และเป็นเคสชั้นดีที่ผมจะเล่าให้ฟัง

 

ในปี2011 K Mart ประสบปัญหาหลายอย่างรุมเร้า ทั้งในแง่ของ traffic และ sales revenueด้วยความที่ว่า การขายของถูกนั้น ยากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อ online channel เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ผู้คนเริ่มสั่งของใช้ราคาถูกจากจีนกันเอง จนไม่สนใจ K Mart อีกต่อไป หนำซ้ำ จากการทำการสำรวจโดย researcher ชื่อดัง ผู้บริโภคทั่วไปยังมองว่าสินค้าของ K Mart นั้น "ถูกและไม่ดี" ซะด้วยสิ เมื่อเทียบกับคู่แข่งเบอร์หนึ่งอย่าง Big W

 

แม้ว่า K Mart จะพยายามปรับภาพของตัวเองจาก High-Low pricing model เป็น Every Day Low Prices (EDLP)มาแล้ว แต่ก็ดูไม่ได้ช่วยอะไรเลย ระดับของปัญหาขณะนั้นมันหนักหนาขนาดที่ว่า บริษัทแม่ของ K Mart อย่าง Wesfarmers คิดจะปิดธุรกิจนี้เลยทีเดียว

 

General Manager of Marketing คนใหม่ในขณะนั้นของ K Mart เรียกทีม Creative จาก BMW(Belgiovane Williams Mackay) และ Forethought Research เข้ามาเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและทางออกของวิกฤตนี้ ซึ่งคำถามในใจที่ว่า Every Day Low Prices model นั้นไม่ใช่คำตอบก็หายไป เพราะจากการสำรวจนั้น ผู้คนชอบ concept ที่จะมาพบสินค้าราคาถูกทุกวันที่ K Mart เพียงแต่ K Mart สื่อสารภาพนี้เข้าไปไม่ถึงพวกเขาต่างหาก

 

K Mart แก้ปัญหานี้ได้อย่างน่าสนใจมากๆ ติดตามได้จากบทความนี้เลยครับ Case Study : K Mart (ตอนที่2)

 

 

 

 

Credit : แกะดำทำธุรกิจ

 1960
ผู้เข้าชม

myAccount Cloud Accounting โปรแกรมบัญชีออนไลน์สำหรับ SMEs โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่ทำให้การทำบัญชีของคุณ เป็นไปอย่างง่ายดาย สะดวก รวดเร็ว

บทความล่าสุด

รู้หรือไม่ว่า ในช่วงแรกเริ่มของ Alibaba แจ๊ค หม่า ไม่จ้างคนเก่งมาร่วมทีม แต่กลับเลือกคนที่อยู่ลำดับรองมาร่วมงานด้วย
17671 ผู้เข้าชม
หลังเรียนจบปริญญาตรีและเข้าทำงานที่อิออน ห้างค้าปลีกใหญ่สุดของญี่ปุ่น กระทั่งต้นทศวรรษ 1970 ทาดาชิ ยานาอิ ซึ่งอยู่ในวัย 20 กว่าปีก็ตัดสินใจลาออกเพื่อกลับไปสานต่อธุรกิจ...
13568 ผู้เข้าชม
ผมมักจะเขียนถึงเรื่องการขายที่เชื่อมโยงกับกีฬาฟุตบอลอยู่เสมอ นั่นเป็นเพราะกีฬาชนิดนี้ มีความคล้ายคลึงกับระบบการทำงานในองค์กรอย่างน่าประหลาด
7938 ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์