Case Study : K Mart (ตอนที่2)

Case Study : K Mart (ตอนที่2)

 

 

 

หลังจากวิกฤตที่เกิดขึ้น K Mart ตั้งธงใหม่ให้กับธุรกิจตัวเอง 2 อย่าง คือต้องเป็น Store of me ของลูกค้า และสื่อสารให้ได้ว่าของที่ขายอยู่ใน K Mart ราคาถูกจริงๆ และมีคุณภาพที่เหนือกว่าราคาที่จ่ายด้วย วิธีเดียวที่ต้องทำคือ "คุณภาพเพิ่มขึ้น ราคาถูกลง" ซึ่งมาถึงตรงนี้ ทุกคนก็คงคิดเหมือนกันว่า "พูดง่าย ทำยากนะ"

 

สิ่งที่ K Mart ทำ ถือว่าน่าสนใจมาก พวกเขาสื่อสารคอนเซปท์นี้ไปที่กลุ่มลูกค้าเพียงกลุ่มเดียวก่อน ซึ่ง decision maker ที่มีอำนาจจับจ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคในบ้านน่าจะเป็นกลุ่มที่ K Mart ต้องการ

 

ลองคิดดูครับ ว่าในครอบครัวส่วนใหญ่แล้ว ใครเป็นคนเลือกซื้อ ไม้ถูพื้น ผ้าปูเตียง เขียง หรือไม้แขวนเสื้อ เหล่าคุณแม่นั่นเอง

 

ด้วย insight ที่ชัดเจน ไอเดียของการทำโฆษณาของ K Mart จึงฉีกแนวคู่แข่งแบบเห็นได้ชัด แทนที่ K Mart จะทำโฆษณาน่าเบื่อๆ ที่ออกมาบอกว่า ไม้ถูพื้นลดจากราคา ... เหลือ ... แบบที่เห็นกันทั่วไปใน Retailers ต่างๆ ทำกัน K Mart ถ่ายทำโฆษณาแบบที่แสดง real-life shopping experiment

 

คุณแม่กว่า 1000 คนถูกเชิญมาที่ K Mart สาขาหนึ่ง โดยที่สินค้าทุกชิ้นในร้านถูกปกปิดราคาไว้ก่อน เมื่อกลุ่มของคุณแม่เดินไปที่สินค้าชนิดใด จะมีพนักงานคอยถามว่า "คุณคิดว่าสินค้าชิ้นนี้ราคาเท่าไหร่?" แน่นอน หลังจากได้จับ ดู วิเคราะห์แล้ว แทบจะ 100% ที่เหล่าคุณแม่บอกราคาที่สูงเกินกว่าราคาที่แท้จริง และเมื่อราคาถูกเฉลย มากกว่าความ WOW ที่เกิดขึ้นส่วนตัว พวกคุณแม่ก็เริ่มพูดคุยกัน และจบลงที่สินค้าไปนอนที่ตะกร้าของตัวเอง

 

ด้วยความที่โฆษณาชิ้นนี้ถูกถ่ายทำแบบกึ่ง reality ทำให้ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นกับกลุ่มตัวอย่าง ถูกถ่ายทอดออกไปสู่ภายนอกอยากน่าเชื่อถือ แม้วิธีการกระจายสื่อ ไม่มีอะไรแปลกใหม่ แต่ด้วยไอเดียที่ถูกดีไซน์มาอย่างปราณีตและทำการบ้านมาอย่างดี ผลลัพธ์ทางธุรกิจที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น เปลี่ยนFinancial health ของ K Mart แบบเห็นได้ชัด และทำให้ K Mart ยังอยู่มาได้ถึงทุกวันนี้

 

 

 

 

Credit : แกะดำทำธุรกิจ

 1660
ผู้เข้าชม

myAccount Cloud Accounting โปรแกรมบัญชีออนไลน์สำหรับ SMEs โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่ทำให้การทำบัญชีของคุณ เป็นไปอย่างง่ายดาย สะดวก รวดเร็ว

บทความล่าสุด

รู้หรือไม่ว่า ในช่วงแรกเริ่มของ Alibaba แจ๊ค หม่า ไม่จ้างคนเก่งมาร่วมทีม แต่กลับเลือกคนที่อยู่ลำดับรองมาร่วมงานด้วย
17670 ผู้เข้าชม
หลังเรียนจบปริญญาตรีและเข้าทำงานที่อิออน ห้างค้าปลีกใหญ่สุดของญี่ปุ่น กระทั่งต้นทศวรรษ 1970 ทาดาชิ ยานาอิ ซึ่งอยู่ในวัย 20 กว่าปีก็ตัดสินใจลาออกเพื่อกลับไปสานต่อธุรกิจ...
13568 ผู้เข้าชม
ผมมักจะเขียนถึงเรื่องการขายที่เชื่อมโยงกับกีฬาฟุตบอลอยู่เสมอ นั่นเป็นเพราะกีฬาชนิดนี้ มีความคล้ายคลึงกับระบบการทำงานในองค์กรอย่างน่าประหลาด
7938 ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์